ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

[Install Printer Samsung CLP 365][Ubuntu]Install Printer Samsung CLP 365 For Ubuntu 14.04 (การติดตั้งปริ้นเตอร์ Samsung CLP 365 สำหรับ Ubuntu 14.04)

บทความนี้จะพูดถึงการติดตั้ง Printer Samsung CLP 365 ซึ่งเป็น printer laser สีที่ผมใช้อยู่นะครับ วิธีการไม่ยุ่งยากเลยครับง่ายนิดเดียว ทีนี้เนี่ยผมได้ทดลองการติดตั้งนี้ บน Ubuntu 14.04 นะครับ

อันดับแรกให้เพื่อนๆ เปิดไปที่ Setting ครับ หรือไม่ก็พิมพ์ คำสั่งนี้ที่ Terminal นะครับ

unity-control-center

พอเข้าไปที่ System Settings แล้วให้เพื่อนๆมองหา Icon Printer นะครับ แล้วก็คลิกไปเลยครับ




พอเข้ามาแล้วจะปรากฎ ว่ามีรายชื่อ Printer อะไรบ้างที่เราได้ติดตั้งไว้เรียบร้อยแล้ว
ถ้าเเพื่อนๆต้องการติดตั้ง Printer ใหม่ก่อนอื่นให้เพื่อนๆเปิดเครื่อง Printer ก่อนนะครับ พอเปิดเครื่อง Printer เรียบร้อยแล้วให้ทำการ เสียบสาย USB เข้ากับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของเพื่อนๆนะครับ

 หลังจากนั้นก็ให้กด ตรง Add ครับ หรือเครื่องหมายบวกนะครับ



มันก็จะขึ้นหน้าต่างแบบด้านล่างนี้ขึ้นมานะครับ  ก็จะปรากฎชื่อเจ้า Printer ที่เพื่อนๆต้องกาติดตั้งขึ้นมาครับก็ให้เพื่อนกดเลือกไปครับ แล้วก็กด Forward ครับ




รอซักพักนึงให้คอมพิวเตอร์ของเราค้นหา Driver ให้เจอก่อนะครับไม่นานครับ พอเจอแล้วก็จะปรากฎหน้าต่างแบบด้านล่างนี้ครับ



ถ้าเพื่อนๆ ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงชื่ออะไรก็ให้เพื่อนๆกดเข้าไปที่ Apply ได้เลยครับ

พอรอเรียบร้อย Printer ก็จะถามเราว่าต้องการ ออก หรือว่า Printer Test ก็แล้วแต่เพื่อนๆนะครับ











พอเรามาดูที่หน้า Printer ก็จะเห็นว่า รายชื่อ Printer ที่เราต้องการติดตั้งก็ขึ้นมาเรียบร้อยแล้วครับ ให้เพื่อนๆ สามารถ นำไปใช้ประโยชน์ได้เลยครับ 
ถ้าเพื่อนดูภาพ ประกอบแล้วไม่เข้าใจสามารถ ดูวิดีโอด้านล่างนี้ได้นะครับ




ไม่ยากนะครับสำหรับการติดตั้งPrinter สำหรับ Ubuntu ขอให้เพื่อนๆสนุกกับการทำงานนะครับ


*** หมายเหตุ บทความนี้ไม่ใช่บทความวิชาการ  หรือบทความของผู้เชียวชาญไม่สามารถไปอ้างอิงเป็นหลักฐานได้ จัดทำขึ้นเพื่อความเข้าใจส่วนตัวและ เพื่อประโยชน์ ต่อผู้ที่สนใจเท่านั้นครับ


วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

[Install Ubuntu 14.04][Linux]How Install Ubuntu Linux(การติดตั้ง Ubuntu แบบโครตง่ายครับ)

วันนี้ผมจะแนะนำการติดตั้ง Ubuntu Linux ซึ่งถือว่าง่ายๆๆๆ  มากครับ... ไม่ยุ่งยากเลยครับ


อันดับแรกนะครับ ให้เพื่อนๆ ไปเตรียม แผ่นไว้สำหรับ Boot  เครื่องก่อนนะครับ ถ้าเพื่อนๆคนไหนยังไม่ได้ ทำให้ย้อนกลับไปดูได้ตาม Link นี้นะครับ การเตรียมการติดตั้ง Ubuntu
ถ้าได้แผ่นไว้สำหรับ Boot เจ้า Ubuntu เรียบร้อยแล้วให้เพื่อนๆ ไปตั้งค่าใน BIOS ให้รัน DVD ROM ด้วยนะครับ
หรือใครใช้ แฟรชไดร์ก็สามารถ กด F10 เวลาเปิดเครื่องได้เลยครับ ลองดูการทำให้ USB Boot ได้ตาม Link นี้นะครับ Boot USB

พอทำการ Boot เครื่องเรียบร้อยแล้วก็จะปรากฎ หน้าตาเหมือนรูปด้านล่างนี้นะครับ




สำหรับรูปด้านบนนี้ โปรแกรมจะให้เพื่อนๆ เลือกอยู่ 2 อย่างนะครับ คือทำการติดตั้ง หรือทำการทดลองใช้ ผมเลยเลือกติดตั้งไปเลยครับ ภาษาเพื่อนๆก็สามารถเปลี่ยน ภาษาได้นะครับมีภาษาไทยด้วยนะครับ



พอกดเข้ามาปุ๊บก็จะเจอกับหน้าต่างที่ ค้นหาไวเลส ของผมก็ทำการเชื่อมต่อเลยครับ เพื่อบางอย่างในระหว่างทำการติดตั้งหรือทำการติดตั้งเสร็จแล้วจะมีการอัพเดทครับ จะได้สะดวกครับ


หลังจากนั้นก็จะปรากฎหน้าต่าง 
has at least 6.5 GB avaliable drive space เราต้องมีพื้นที่ว่าง 6.5 กิกะไบ
is plugged in to a power sourse เสียบชาจไฟอยู่
is connected to the internet เชื่อต่ออิเตอเน็ตอยู่ ถ้าเราเชื่อมต่อ Internet อยู่จะสามารถ Downloads updates while installing สามารถอัพเดต ค่าต่างๆได้ในระหว่างทำการติดตั้ง สำหรับ อันล่างนี่จะเป็นส่วนของโปรแกรมที่ไม่ใช่ของ Ubuntu ครับ ผมก็ Downloads ไปด้วยเลยครับ


พอมาถึงหน้านี้เจ้า Ubuntu จะถามเราว่าเราต้องการติดตั้งแบบไหนซึ่งอันแรกคือการ ติดตั้ง Ubuntu  แบบ ยังเก็บไฟล์สำคัญต่างๆไว้ครับ 
ส่วนแบบที่สองนั้น จะเป็นการติดตั้งโดยการลบเจ้าระบบปฏิบัติการเก่าออกก่อน อย่างเช่นของผมเป็น Ubuntu เหมือนกันครับ ถ้าเป็นของเพื่อนๆ อาจจะเป็น Windows ซึ่งไม่เหมือนกันนะครับ ถ้าจะให้แบบว่าเครื่องสะอาดเลยก็เลือกอันที่ 2 ครับ ส่วนอันล่างสุดครับจะเป็นการ ติดตั้ง แบบแบ่ง Parition เองครับ เพื่อนๆก็สามารถทดลองได้นะครับ


มาขั้นตอนนี้ไม่ยากครับเลือกที่อยู่ของเราเพื่อทำเป็น เขตเวลาครับ อย่างผมก็เลือก Bangkok ครับ


ทำการเลือกภาษาที่จะใช้สำหรับ Keyborad ครับที่นอกเหนือจาก เจ้าภาษาอังกฤษแล้วนะครับ

หลังจากนี้จะมีอีกขั้นตอนนึงนะครับ แต่ผมต้องของอภัยจริงๆ ผมลืมลงรูปไว้ครับ อดเอามาให้เพื่อนๆดูเลยครับ ไม่อยากครับ เป็นขั้นตอนการใส่รหัสผ่าน ชื่อ User ชื่อเครื่อง ประมาณนี่ครับ





ให้เพื่อนๆ รอเจ้า Ubuntu  ทำการติดตั้งซักพัก ก็จะเรียบร้อยแล้วครับ ไม่นานครับเหมือนกับรูปด้านบนนะครับ จะมีแทบสถานะแสดงอยู่ครับ หลังจากเสร็จเรียบร้อแล้วโปรแกรมก็จะทำการ Restart อีกทีนึงครับ ไม่อยากเลยใช่ไหมครับ


เพื่อนๆก็จะได้ เจ้า Ubuntu ที่สวยงามไว้ใช้สำหรับใช้งานแล้วครับ ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ขอให้เพื่อนๆ สนุกับการใช้งาน Ubuntu Linux นะครับ



*** หมายเหตุ บทความนี้ไม่ใช่บทความวิชาการ  หรือบทความของผู้เชียวชาญไม่สามารถไปอ้างอิงเป็นหลักฐานได้ จัดทำขึ้นเพื่อความเข้าใจส่วนตัวและ เพื่อประโยชน์ ต่อผู้ที่สนใจเท่านั้นครับ






วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

[Android Studio][Genymotion][Android]Install Plug In Genymotion For Android Studio(การติดตั้ง Plug in บน Android Studio)

บทความนี้เป็น บทความสั้นๆ นะครับ ผมทำมาแนะนำเกี่ยวกับการติดตั้ง Plug In ของ Genymotion บน Android Studio นะครับ ไม่ยาวเท่าไหร่นะครับ โดยเพื่อนๆ ต้องการติดตั้ง Genymotion ก่อนนะครับ โดยสามารถย้อนไปดูได้ตาม Link นี้นะครับ Genymotion

ทีนี้เพื่อนๆ ก็เปิดดู Android Studio ขึ้นมาเลยครับ

ที่นี้พอเปิดขึ้นมาแล้วเข้าไปที่มุมบนซ้าย File--->Settings ก็จะปรากฎหน้าต่างแบบด้านล่างนี้นะครับ





หลังจากนั้น คลิกไปที่ Plugins ครับ แล้วมองทางด้านขวานะครับ ให้เพื่อนๆ กดเขาไปที่ปุ่มทางด้านล่างครับ ที่เขียนว่า Browse repositories.. กดเข้าไปแล้วก็จะปรากฎ หน้าต่างด้านล่างนี้ครับ



เพื่อนๆก็ลองเลื่อน เมนูทางด้านซ้ายดูนะครับ มองหา Genymotion ดูครับ พอเห็นแล้วให้คลิกขวาครับ ก็จะปรากฎ Download and Install ก็กดเข้าไปเลยครับ




แล้วก็กด Yes ครับก็เป็นอันที่เรียบร้อย





ก็จะปรากฏ Icon ใหม่ขึ้นมาครับ ให้เพื่อนๆดู ที่ Tools  Bar ครับ

ที่นี้เพื่อนๆก็กดเข้าไปเลยนะครับ แล้วก็ รันอุปกรณ์ที่ต้องการจะทดสอบขึ้นมาซักตัวนึงครับ
ถ้าเพื่อนๆต้องการให้ Android Studio สามารถรันทดสอบ แอพของเราได้โดยตรงโดยการ ทำแบบ Emulation แล้วหละแก้ ง่ายๆครับ เพื่อนๆ เปิด Genymotion ขึ้นมาเลยครับ หลังจากนั้นเข้าไปที่ Setting ครับ กดแท๊บ ADB แล้วเลือก Use custom Android SDK Tools แล้วเพื่อนๆก็เลือก path ที่อยู่ของ SDK ที่เราติดตั้งร่วมกับ Android Studio ครับ แล้วก็กด OK ก็เป็นอันเรียบร้อยครับ







Genymotion--->Settings-->ADB-->Android SDK

เท่านี้เพื่อนๆ ก็สนุกกับการทดสอบแอพได้เลยครับ โดยใช้ Genymotion เลยครับ

การแก้ปัญหาบางอย่าง เช่นของผมหลังจาก ตั้ง Plug in Genymotion เสร็จเรียบร้อย ไอ้เจ้า ADB ดันไม่ตอบสนอง หลังจากที่ผมกดรันโดยการรันผ่าน Emulator เพื่อเพื่อนๆ คนไหนเจอได้แก้ปัญหาได้ครับ





ปัญหาที่เกิดขึ้นจะเกิดเหมือนกับ รูปทางด้านบนนี้ครับ
โดยการแก้ปัญหา ADB not responding.If you'd like to retry,then please manually kill "adb"and click 'Restart'

ดังนี้ครับ ให้เพื่อนๆเปิด Terminal ขึ้นมาเลยครับ (Ctrl+Alt+T)
 แล้วก็พิมพ์คำสั่งดังนี้ครับ


sudo apt-get install lib32z1 lib32z1-dev lib32stdc++6





รอซักพักนึงก็เป็นอันเรียบร้อยครับ

หลังจากนั้นก็ให้เพื่อนๆ ทำการ Restart ทั้งสองอย่างเลยนะครับ ทั้ง Genymotion และ Android Studio ครับ ก็จะสามารถดำเนินการได้ตามปกติครับ

*** หมายเหตุ บทความนี้ไม่ใช่บทความวิชาการ  หรือบทความของผู้เชียวชาญไม่สามารถไปอ้างอิงเป็นหลักฐานได้ จัดทำขึ้นเพื่อความเข้าใจส่วนตัวและ เพื่อประโยชน์ ต่อผู้ที่สนใจเท่านั้นครับ













[Android Studio][Ubuntu]Install Android Studio For Ubuntu Linux (การติดตั้ง Android Studio บน Ubuntu)

   หลังจากที่ Google ได้ปล่อย Android OS เวอชั่นใหม่ เป็น Android 5.0 Lollipop ติดๆกันก็ได้มี IDE ที่ใช้ในการพัฒนา Android คือ Android Studio 1.0 ตามมาด้วย  ด้วยแต่เดิมนั้นจะแนะนำให้พัฒนา Android ด้วย Eclipse โดยติดตั้ง Plug in ของ Android และ SDK หรือสามารถ Download เป็น ADT ซึ่งรวมทั้ง Plug in และ SDK ไว้แล้ว โดยสามารถ Download ได้ที่ เวป Android Developers ได้เลย เหมือนกับบนความที่เคยแนะนำไว้ครับ (การติดตั้งเครื่องมือต่างๆเพื่อการพัฒนา Application Android) แต่ด้วยทางเวป Android Developers นั้นได้พักดันให้ใช้ Android Studio ในการพัฒนาแทนแล้ว เพื่อให้เราไม่ตกยุคในการพัฒนา เราจึงต้องมาเรียนรู้การใช้ Android Studio บ้างแล้วนะครับ ซึ่งบทความนี้ผมจะมาแนะนำ การติดตั้ง Android Studio บน Ubuntu Linux นะครับ 



อันดับแรกเลยเพื่อนๆ ต้องทำการติดตั้ง เจ้า JDK ก่อนเลยนะครับ ถ้าใครยังไม่รู้ว่าจะติดตั้งยังไงย้อนไปดูการติดตั้ง JDK ตาม Link เลยนะครับ การติดตั้ง JDK

พอเพื่อนๆ ดำเนินการขั้นตอนติดตั้ง JDK เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ทำการติดตั้ง 
Android Studio โดยสามารถทำาการ Download ได้ที่ เวป Android Developers ตาม Link เลยนะครับ  



ทีนี้พอเข้ามาหน้าเวป ให้เพื่อนๆ เลื่อนไปดูทางด้านล่างนะครับ อย่างผมใช้ Platform Linux ก็ Download ทั้ง Packages เลยครับ


กดตามภาเลยนะครับ


ก็ทำการ Save File ตามปกติครับ


ลักษณะ File ที่ได้จะมีหน้าตาประมาณรูปด้านบนนะครับ ที่นี้มัน zip ไฟล์ อยู่ให้เพื่อนๆ ดับเบิลคลิกไปเลยครับ


ให้เพื่อนๆเตรียมตัว แตกไฟล์นะครับ


ทีนี้ไฟล์ที่จะแตกนะครับ ผมแนะนำให้ แตก File ไปที่ Home นะครับ เวลาเราใช้ Command Line จะง่ายนิดนึงครับ



 
พอแตกไฟล์เรียบร้อยแล้วหน้าตาจะเหมือนรูปด้านบนนี้ นะครับ

ทีนี้ขั้นตอนต่อไปก็ให้เพื่อนๆ เปิด Terminal ขึ้นมาเลยครับ (Ctrl+Alt+T)

หลังจากนั้น เข้าไปที่ Folder android-studio/bin ก่อนนะครับด้วยคำสั่ง 

cd android-studio/bin



พอเข้ามาด้านในแล้ว ให้เพื่อนๆ พิมพ์สั่งด้านล่างนี้ต่อครับ

./studio.sh


พอพิมพ์ไปแล้วกด Enter ก็จะมีหน้าตาเหมือนรูปด้านล่างนี้นะครับ


พอรอเวลาไว้ซักแปบนึง ก็จะปรากฎหน้าต่างเหมือนด้านล่างนี้ครับ




ทีนี้มันมีให้เลือกอยู่ สองตัวเลือกอย่างของผมนี้ ไม่เคยติดตั้ง Android Studio มาก่อนเลย เลยเลือก อันล่างนะครับแล้วก็กด OK ครับ



รอมันดำเนินการซักแปบนึงครับ


กด Next ไปเลยครับ


ทีนี้เนี่ยมันถามหาไอ้เจ้าตัว JDK ซึ่งเราได้ทำการติดตั้งไว้แล้ว แต่ต้อง version น่าจะต้องสูงกว่า 7.0 นะครับ


ผมก็เลือกที่อยู่ของ JDK ที่ผมได้ติดตั้งไว้ครับ


แล้วก็ กด Next ครับ


เลือก โหมด Standard กด next ครับ


กด Next


กดติ๊กที่ Accept แล้วกด Finish ครับ



รอ โปรแกรมทำงานซักแปบนึง ประมาณ 5 นาที พอเสร็จแล้วก็กด Finish ครับ

หลังจากนั้นเจ้าตัวโปรแกรมก็จะปรากฎหน้าตาเหมือนกับรูปด้านล่างนี้ครับ


ลองทดลองเลือกดูนะครับ โดยผมเลือกอันแรกครับ Start a new Android Studio project ครับ

หลังจากนั้นก็ลองตั้งค่าไปเรื่อยๆ นะครับ เหมือนกับรูปด้านล่างนะครับ 









เท่านี้ก็จะสามารถ พัฒนา Application ได้ตามต้องการแล้วนะครับ

สำหรับเจ้าตัว SDK ที่ทางโปรแกรมได้ติดตั้งให้นั่น จะถูกสร้าง Folder ขึ้นมาใหม่ใน Home นะครับ จะอยู่่ใน Folder Android แล้วพอกดเข้าไปดูก็จะเห็น Sdk ด้านในนะครับ ที่แจ้งไว้เพราะว่าเพื่อเพื่อนๆ จะเอาไปใช้อ้างอิงกับโปรแกรมอื่นๆครับ ไม่ว่าจะเป็น Eclipse หรือ Androidscreencast หรือโปรแกรมต่างๆครับ






สำหรับขั้นตอนการ เริ่มต้นทำ Project บน Android Studio ผมจะมาแนะนำการใช้ในภายหลังนะครับ วันนี้ขอมาแค่แนะนำการติดตั้งเจ้าตัวโปรแกรมบน Ubuntu Linux ก่อนนะครับ





*** หมายเหตุ บทความนี้ไม่ใช่บทความวิชาการ  หรือบทความของผู้เชียวชาญไม่สามารถไปอ้างอิงเป็นหลักฐานได้ จัดทำขึ้นเพื่อความเข้าใจส่วนตัวและ เพื่อประโยชน์ ต่อผู้ที่สนใจเท่านั้นครับ